การะบูร

การะบูร

การะบูร เป็นผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของพืช
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Cinnamomum camphora (L.) J.Presl
มีชื่อพ้องว่า Camphora offcinarum Nees และ Laurus camphora L.
ในวงศ์ Lauraceae

คำว่า การะบูร มาจากภาษาสันสกฤตว่า Karapur หรือ กรปูร ซึ่งแปลว่าหินปูน เพราะคนไทยโบราณ เข้าใจว่าของนี้เป็นพวกหินปูน ที่มีกลิ่นหอม ต่อมาชื่อนี้เพี้ยนเป็น กรบูร และเป็นการบูรในปัจจุบัน ต้นการบูรเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน แต่ในปัจจุบันนี้มีการนำระบบในหลายๆประเทศ การะบูรเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง ๑๐-๑๕ เมตร ลำต้นและกิ่งเรียบ ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่รากและโคนต้น ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลี่อมหุ้มอยู่  เกล็ดชั้นนอกเล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่ รูปไข่กว้าง หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีนวล ดอกออกรวมเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกตามซอกใบ ใบเป็นใบประดับ เรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนนุ่ม ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้นมาก กลีบรวมมี ๖ กลีบ รูปรี ปลายมน  ควรติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ด้านในมีขนอ่อนนุ่ม เกสรเพศผู้มี ๙ อัน เรียงเป็น ๓ วง ผลเป็นผลมีเนื้อ ขนาดเล็ก รูปค่อนข้างกลม สีเขียวเข้ม แต่จะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ มีเมล็ด ๑ เมล็ด ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒

การบูรที่ใช้กันเกือบทั้งหมดได้มาจากธรรมชาติ ร้อยละ ๘๐ ผลิตจากไต้หวัน ที่เหลือผลิตจากจีนและญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นยึดครองไต้หวัน ญี่ปุ่นจึงกลายเป็นประเทศที่ผูกขาดการผลิตการบูรที่ได้จากธรรมชาติ รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดว่า ถ้าโค่นต้นการบูรลง ๑ ต้น จะต้องปลูกชุดชดเชย ๑ ต้น เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ การะบูนธรรมชาติเป็นผลึกเล็กๆ ที่เกิดขึ้นทั่วไปทั้งต้น มักอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ มีมากที่สุดในแกนของราก ลงลงมาที่แก่นของต้น ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นมีการบูรมากกว่าส่วนที่อยู่สูงขึ้นมาตามลำดับ ดังนั้นในใบและยอดอ่อนจึงมีการบูรอยู่น้อย ในใบอ่อนมีน้อยกว่าในใบแก่ การบูรจะละลายอยู่ในน้ำมันระเหยง่ายที่ไหนต้น การผลิตการบูรในไต้หวันนั้นใช้การกลั่นจากต้น โดยเอาทั้งต้นและรากของต้น ที่มีอายุเกิน ๔๐ ปีมาเรื่อยๆและสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปกลั่นโดยใช้ไอน้ำในเครื่องกลั่นพิเศษที่ทำด้วยไม้ เมื่อกลั่นได้น้ำมันระเหยง่าย การะบูนเดี๋ยวตกผลึกแยกออกมา แล้วกรองแยกเอาผลึกการบูร (อาจเอามาทำให้บริสุทธิ์โดยการระเหิด) การบูรที่ได้นี้เรียกว่าหรือว่า refined camphor หรือ resublimed camphor เนื่องจากการบูรได้จากพืชที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ในสหรัฐอเมริกาจึงใช้วิธีกลั่นจากใบและยอดอ่อนของต้นที่มีอายุตั้งแต่๕ ปี ขึ้นไปแทน จะให้ปริมาณการระบุน้อยกว่า แต่สามารถตัดใบและยอดอ่อนมักกลั่นได้ทุกๆ ๒ เดือน ในปัจจุบันนี้การะบูรเกือบทั้งหมดได้จากวิธีการกึ่งสังเคราะห์จากสารตั้งต้น คือ แอลฟา-ไพนีน ที่ได้จากน้ำมันสน แพทย์โบราณใช้การบูรแก้เคล็ดบวม ขัดยอกแพลง แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน เป็นยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ผสมในยาทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ

 

รูปภาพจาก:todayhealth.org,banhomthai.com